ข้อมูลผลิตภัณฑ์
1. วัสดุ ( Material )
ห้างหุ้นส่วนจากัดวงกลม เป็นผู้นำในการผลิตและจาหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกผนัง (Concrete Masonry Unit ) ภายใต้เครื่องหมายการค้า " WK – BLOCK " โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรชั้นสูงจาก BESSER ประเทศสหรัฐอเมริกา WK – BLOCK เป็นวัสดุก่อผนังคอนกรีต ที่ขึ้นรูปด้วยกาลังแรงอัดสูง (High Pressure Compression) และทาการบ่มด้วยห้องอบ (Curing room) เนื้อวัสดุ มีความแน่น แข็งแกรง โดยจะมีรูตรงกลาง เพื่อ เสียบเหล็กตามมาตรฐานการใช้งานต่อไป ผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก.57 – 2530 มอก.58 – 2533 จากสานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ความหนา 7 , 9 ,14 และ 19 x19 x39 ซม. และได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก.58 – 2516, มอก.59 – 2516 สาหรับผลิตภัณฑ์ ขนาด 7 x15 x30 ซม. มีคุณสมบัติที่สาคัญดังนี้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต คอนกรีตบล็อกรับน้าหนัก มอก.57 – 2530 มีรายละเอียดสาคัญ ดังนี้
- ความหนาของเปลือกและผนังกั้นโพรง (Face and web thickness) ต้องไม่น้อยกว่า 19 มม. (อิฐ9ซม.)
- ความต้านทานแรงอัดต่าสุด (Compressive strength) ไม่น้อยกว่า 140 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
- การดูดกลืนน้า (Water Absorption) ไม่เกิน 15 % กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร
- คอนกรีตบล็อกรับน้าหนัก ซึ่งต้องมีการฉาบปูนหรือแต่งปูน ต้องมีผิวหยาบพอควรแก่การจับยึดของปูนฉาบ หรือปูนแต่งได้ดี
- อัตราการทนไฟ (Fire Rating) ไม่ต่ากว่า 4 ชม. ( เพิ่มเติม จาก ASTM E119-95a)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต คอนกรีตบล็อกรับน้าหนัก มอก.58 - 2533 มีรายละเอียดสาคัญ ดังนี้
- ความหนาของเปลือกและผนังกั้นโพรง (Face and web thickness ) ต้องไม่น้อยกว่า 12 มม.
- ความต้านทานแรงอัดต่าสุด (Compressive strength) ไม่น้อยกว่า 60 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
- การดูดกลืนน้า (Water Absorption) ไม่เกิน 15 % กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต อิฐคอนกรีต มอก.59 – 2516 มีรายละเอียดสาคัญ ดังนี้
- ความต้านทานแรงอัดต่าสุด (Compressive strength ) วางอิฐทางแบน ไม่น้อยกว่า 140 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
- การดูดกลืนน้า ( Water Absorption ) ไม่เกิน 25 % กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาต คอนกรีตบล็อกเชิงตันรับน้าหนัก มอก.60– 2516 มีรายละเอียดสาคัญ ดังนี้
- ความต้านทานแรงอัดต่าสุด (Compressive strength ) ไม่น้อยกว่า 125 กิโลกรัม/ ตารางเซนติเมตร
- การดูดกลืนน้า ( Water Absorption ) ไม่เกิน 15 % กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร
2. สัดส่วนการผสมปูน (Mortar Mixing)
คอนกรีตบล็อกวงกลม สามารถใช้ปูนก่อ – ฉาบผสมเอง หรือ สาเร็จรูปทั่วไป
- ปูนซีเมนต์ที่จะนามาผสมเอง ต้องใหม่ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ชื้น หรือเสื่อมคุณภาพ ปูนก่อ –ฉาบสาเร็จรูป คุณภาพต้องเป็นไปตามมาตรฐานผู้ผลิต
- ปูนก่อ – ฉาบให้ผสมตามอัตราส่วนผสมเป็นไปตามผู้ผลิตแนะนา เมื่อผสมปูนก่อ - ฉาบไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ห้ามนาส่วนผสมนั้นมาใช้งาน
3. การก่ออิฐผนังไม่รับน้าหนัก (Nonbearing wall Masonry)
- ทาความสะอาดให้พื้นที่สะดวกต่อการทางาน กาหนดแนวและ ระดับก่ออิฐ ขึงแนวเส้นเอ็นเพื่อช่วยให้ง่ายขึ้น
- วางปูนทรายขนาดกว้าง 6 ซม.สูง 10 ซม. เป็นฐานของคอนกรีตบล็อก หนาประมาณ 7 ซม. เพื่อช่วยปรับระดับ พื้นให้ได้ระนาบเดียวกันแล้วเริ่มก่อบล็อกก้อนแรกโดยคว่าด้านหน้าลง หงายส่วนด้านล่างบล็อกขึ้น ใช้ค้อนยาง และระดับน้าช่วยจัดให้ได้แนว และระดับที่ถูกต้อง
- ใช้เกรียงก่ออิฐตัดปูนก่อป้ายลงด้านข้างของก้อนแรกโดยลากจากด้านล่างขึ้นจนเต็มก้อน ความหนาปูนก่อ ประมาณ 0.5 - 1 ซม. และวางก้อนที่ 2 ให้ชิดกับก้อนแรก ปรับระดับด้วยเกรียงก่อและระดับน้าแล้วก่อต่อไปด้วย วิธีเดียวกันจนเสร็จแนวก่อชั้นแรก
- เริ่มก่อชั้นที่ 2 โดยใช้เกรียงก่อเคาะบล็อกป้ายปูนก่อลง ด้านบนของบล็อกชั้นแรก แล้วยกบล็อกชั้นที่ 2 วางทับ ลง ไป ใช้เกรียงก่อเคาะปรับระดับ ให้แนวรอยต่อเยื้องสลับกัน แล้วก่อชั้นต่อไป ด้วยวิธีเดียวกันจนเสร็จ การก่อ ควรได้ระดับและแนวดิ่งด้วย
- บล็อกก้อนที่ชนกับเสาโครงสร้าง ต้องเจาะเสียบเหล็กยึดรอยต่อผนังยึดติดกับเสาทุก ความสูง 60 ซม. ด้วยเหล็ก Ø9 มม. ยาว 40 ซม.ให้ยื่นออกจากเสา 30 ซม. โดยใช้วัสดุEpoxy
- ผนังก่อที่มีวงกบประตู – หน้าต่าง ต้องหล่อเสาเอ็นทับหลับ ค.ส.ล ไม่เล็กกว่า 10 ซม. เสริมเหล็ก Ø9 มม. 2 เส้น เหล็กปลอก Ø6 มม. ระยะห่าง 20 ซม. ใช้ส่วนผสมปูนซิเมนต์ 1 ส่วน ต่อทรายหยาบ 2 ส่วนต่อหินเกล็ด 4 ส่วน โดย ปริมาตร
- ผนังที่ก่อชนคาน ค.ส.ล หรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องเว้นช่องไว้ประมาณ 10 ซม. เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน จึงจะทาการก่อชนท้องคานหรือท้องพื้นได้ หากเป็นระบบที่มีการแอ่นตัวเป็นพิเศษ เช่นแผ่นพื้นระบบ Post Tensioned เว้นช่องว่างประมาณ 4- 5 ซม.แล้วแล้วเสริมวัสดุที่มีความยืดหยุ่น เช่น โฟม
- การก่อบล็อกที่ผนังมุมก่อมาบรรจบกัน อาจก่อประสานเข้ามุม (Interlocking) โดยเสริมเหล็กแผ่นตะแกรง ขนาด 300 มม. (Metal lath over joint) ระหว่างชั้นทุกระยะความสูง 60 ซม.
4. การฉาบปูน (Render)
- ผนังที่ก่อใหม่ ต้องไม่กระทบกระเทือน หรือรับน้าหนักเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน
- ควรทิ้งให้ผนังก่ออิฐแห้งตัวก่อนอย่างน้อย7 วันก่อนทาการฉาบ
- เตรียมพื้นผิวให้สะอาด ราดน้าให้ผนังชุ่ม เพื่อไม่ให้ดูดน้าจากส่วนผสมปูนฉาบเร็วเกินไป
- ส่วนผสมของน้าจะต้องพอเหมาะกับการฉาบปูน ไม่เปียกหรือแห้งเกินไป ควรปฏิบัติ ตามคาแนะนาของผู้ผลิต ปูนฉาบ
- พรมน้า ให้ส่วนพื้นที่ฉาบเปียกทั่วกันและทาการฉาบปูน กรณีฉาบปูนหนา 1 ซม. ใช้อัตราส่วน ปูนซีเมนต์ 1 ส่วนต่อ ทรายละเอียด 3 ส่วน (1:3) กรณีฉาบปูนหนามากกว่า 1.5 ซม. ให้แบ่งฉาบเป็นรองพื้น (1:3) และฉาบแต่งใช้อัตราส่วนปูนซีเมนต์ 1 ต่อปูนขาว 2 ส่วน ต่อทรายละเอียด 6 ส่วน (1:2:6)
- บ่มผิวปูนฉาบเสร็จใหม่ให้มีความชื้นตลอดเวลา 72 ชั่วโมง พรมน้า และป้องกันไม่ให้ถูกแดดโดยตรง เพื่อ ป้องกัน การแตกร้าว เนื่องจากการระเหยน้าอย่างรวดเร็วของผิวปูนฉาบ
5. ข้อควรระวัง/ ข้อแนะนำ
- ตาแหน่งประตูหน้าต่าง จะต้องมีเสาเอ็น – ทับหลัง พื้นที่การก่อมากกว่า 10 ตารางเมตรต้องมีเสาเอ็นและทับหลัง
- รอยต่ออิฐด้วยปูนก่อ ควรมีความหนาแน่นใกล้เคียงกันคือ 1 - 1.5 ซม.
- การก่ออิฐปิดใต้ท้องคานจะต้องทิ้งช่วงไว้ 3 วัน แล้วจึงก่อปิด
- กรณีที่ต้องฉาบมากกว่า 2 ซม. อาจเนื่องมาจากเสา หรือผนังล้มนิ่ง จะต้องฉาบทีละชั้น ความหนา 1 - 1.5 ซม. ต่อชั้นโดยปูนเค็มจัด เพื่อให้ปูนฉาบแห้ง และก่อตัวได้เร็ว
- ถ้าต้องการฉาบหนา ตั้งแต่ 5 ซม. จะต้องกรุตระแกรงกรงไก่ไว้เป็นชั้นๆ ด้วย
- สเปรย์น้าที่ผนังปูนฉาบติดต่อกันอีก 2 - 3 วัน (โดยเฉพาะผนังภายนอก)
- ผนังก่อเว้นช่อง (Cavity wall masonry) โดยก่อแยกอิฐเป็นสองแถวเว้นช่องว่างตรงกลางเอาไว้ ผนังก่อจะเชื่อมยึด กันด้วยเหล็กยึดรูปตัว Z -ขนาด Ø-3/16" ห่างจากขอบปูน ≥ 5/8" แล้วอุดด้วยปูน ผนัง มีคุณสมบัติดีเลิศในเรื่อง ผนังเป็น ฉนวนกันความร้อน ทึบเสียง และป้องกันน้าซึมเข้ามาภายในอาคารได้เป็นอย่างดี
- ผนังวัสดุก่อรับน้าหนัก สามารถที่จะออกแบบก่อสร้างแบบไม่เสริมเหล็ก แบบเสริมเหล็กบางส่วน หรือเสริมเหล็กตามรูปแบบ ซึ่งจะมีคุณสมบัติเหมือนกับผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเสริมที่เสริมให้กับผนังวัสดุก่อจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังในการต้านทานการโก่งเดาะ (buckling) และแรงกระทาด้านข้างจากลมหรือแผนดินไหว ความแข็งแรงของผนังวัสดุก่อเสริมเหล็กจะขึ้นอยู่กับแรงยึดเหนียว (bond develop) ระหว่างเหล็กเสริมกับปูนและอิฐคอนกรีต
- รอยต่อเผื่อแตก ผนังก่อคอนกรีตบล็อกจะเกิดการหดตัวหลังจากปูนก่อแห้งตัวแล้ว ทาให้เกิดรอยแตกขึ้นตามผนัง ควรเสริมเหล็กเพิ่มที่รอยต่อแนวนอน และกาหนดตาแหน่งของรอยต่อเผื่อแตกให้ถูกต้อง นอกจากนั้นบริเวณซึ่งมีความแข็งแรงน้อย หรือบริเวณที่ผนังมีการเปลี่ยนแปลงหน้าตัด ซึ่งได้แก่
- 1. บริเวณที่ความสูง หรือความหนาของผนังมีการเปลี่ยนแปลง
- 2. บริเวณเสา เสาโปนและบริเวณที่ผนังมาชนกัน
- 3. บริเวณใกล้มุมผนัง
- 4. ทั้งสองข้างช่องเปิดที่มีความกว้างมากกว่า 180 ซม.
- 5. ถ้ากว้างน้อยกว่า 180 ซม.ให้ใส่รอยต่อด้านเดียว
รอยต่อเผื่อแตก จะต้องอุดด้วยวัสดุอุดรอยต่อให้สนิท เช่น ปูนมอร์ตา โดยที่รอยต่อจะต้องมีความต้านทานต่อแรงกระทาด้านข้าง รอยต่อระหว่างผนังรับน้าหนักกับโครงสร้างเหล็ก หรือ โครงสร้างคอนกรีต จะต้องเป็นรอยต่อแบบรอยต่อเผื่อแตก - รอยต่อเผื่อขยาย ผนังวัสดุก่อจะเกิดการหดตัวและขยายตัว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้น ทาให้ต้องแก้ไขด้วยการแยกผนังออกจากกัน ด้วยรอยต่อเผื่อขยายทุกๆระยะ 3.75 เมตร ตามความยาวของผนัง และบริเวณรอยต่อระหว่างส่วนยื่นของผนังรูปตัว U , L และ ตัว T รอยต่อเผื่อขยาย จะต้องอุดด้วยวัสดุอุดรอยต่อให้สนิท โดยยอมให้ผนังขยายตัวได้ในแนวระนาบของผนัง
- ในการก่อ ผนังเสริมเหล็ก เหล็กเสริมแนวดิ่งฝั่งอยู่ในช่องที่กรอกคอนกรีตจนเต็ม เหล็กเสริมแนวนอน มีระยะทาบ ของเหล็กเสริม ไม่น้อยกว่า 60 ซม.