อิฐบล็อก คอนกรีตบล็อก ที่ดี ดูอย่างไร?
อิฐบล็อก คอนกรีตบล็อก ที่ดี เลือกดูอย่างไร ?
นอกเหนือ จากการเลือก ด้านราคาแล้ว การเลือกใช้ อิฐบล็อก คอนกรีตบล็อก ควรดู พิจารณาเลือกดังนี้
1. ขนาด มิติ ของ อิฐบล็อก ควรเที่ยงตรง ความคลาดเคลื่อน บวกลบ ไม่เกิน 3 มิลลิเมตร
เพื่อให้ ช่างก่อสร้าง ก่ออิฐบล็อก ได้สะดวก ง่ายขึ้น ใช้ปูนก่อ ได้ประหยัด และ รอยต่อปูนฉาบมีความสม่ำเสมอ
2. ความหนาเปลือก และ ผนังกั้นโพรง ของ อิฐบล็อก คอนกรีตบล็อก ไม่บางเกินไป โดย มาตรฐานกำหนดไว้ หนาไม่น้อยกว่า 13 เซนติเมตร สำหรับบล็อก 7 ซม ธรรมดา ทั่วไป อิฐบล็อกราคาถูกมาก จะประหยัดขนาด และความหนา ทำให้ อิฐบล็อก เปราะ แตกหักง่าย เจาะ ตอกตะปูไม่ได้ ป้องกัน น้ำ ไม่ได้ ดังนั้น ควรเลือก อิฐบล็อกที่เปลือกหนา และ หนักกว่า อิฐบล็อกราคาถูกทั่วไป
3. การรับแรงอัด อิฐบล็อกไม่น้อย กว่า 25 กิโลกรัม ต่อ ตารางเซ็นติเมตร อิฐบล็อกที่ดี ต้องแข็งแรง รับแรงกดได้ มากกว่า 25 ksc. ผนัง ถึงมีความแข็งแรง ซึ่ง อิฐบล็อกวงกลม รับแรงไม่น้อย กว่า 60 ksc.
4. ความหนาแน่นของอิฐบล็อกต้องแน่น ควรอยู่ระหว่าง 1,800 -2,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศ์เมตร อิฐบล็อกที่ความหนาแน่นสูง จะรับแรงอัด และ ป้องกันการดูดซึมน้ำได้ดี อีกทั้ง ยังป้องกันเสียง ดี กว่า อิฐบล็อก ที่ความหนาแน่น น้อยกว่า ด้วย
5. เลือกใช้ โรงงาน อิฐบล็อก ที่รับประกันคุณภาพ
จะเห็นได้ว่า การเลือกใช้อิฐบล็อก นอกจากเรื่องของราคา แล้ว ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพ ของ อิฐบล็อก เพื่อให้ผนังอิฐบล็อก แข็งแรง ได้คุณภาพครบถ้วน เลือกใช้อิฐบล็อก เจาะจง อิฐบล็อก วงกลม WK-BLOCK นะครับ
ก่อ อิฐบล็อก ง่ายๆด้วยตัวเอง
อิฐบล็อก (Concrete Block) หากพูดถึงคำๆนี้ หลายๆคนต้องรู้จัก โดยเป็นอิฐสำหรับก่อสร้างที่หาซื้อและใช้งานได้ง่าย
อิฐบล็อก คือ อิฐที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ทราย หินเกล็ด และน้ำ ตามสัดส่วน บรรจุลงในบล็อกมาตรฐานตามแบบต่างๆ แล้วกดอัดด้วยเครื่องกดอัดแรงสูง อิฐบล็อกจะมีขนาดเท่ากัน สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นที่นิยมมากสำหรับใช้ในการก่อสร้าง ข้อควรระวังคือ อิฐชนิดนี้ความแข็งแรงจะน้อยกว่าอิฐชนิดอื่นๆ
ก่ออิฐบล็อกใครก็ว่าทำยาก เนื่องจากปูนสำเร็จรูปที่มีคุณสมบัติทำให้ปูนก่อเหนียว มีการยึดเกาะอิฐที่ดี นุ่มเบามือมีระยะแห้งตัวที่เหมาะสมก็ช่วยให้ได้ผนังแข็งแรงทนทานแบบที่ต้องการแล้ว เพียงแค่ฉีกถุงผสมน้ำ ก็สามารถเริ่มงานได้ทันที จะง่ายอย่างไร ไปดูอ่านกัน
ขั้นตอนการก่ออิฐ
1.บ่มอิฐบล็อกโดยราดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ
2.ผสมปูนก่อทั่วไป กับ น้ำสะอาดในอัตราส่วนที่เหมาะสม
3.เริ่มก่อชั้นแรกให้ใช้เกรียงตักปูนโปะลงไปบนพื้นที่ที่จะก่อให้มีความยาวพอๆกับความยาวของอิฐบล็อก แล้วปาดให้เป็นสันแนวสามเหลี่ยมจากนั้นก็นำอิฐบล็อกวางลงไปโดยด้านที่เอาหงายขึ้นเพื่อก่อชั้นต่อไปต้องเป็นด้านทึบเท่านั้น
4.ก้อนต่อไป ก็ทำคล้ายๆก้อนแรก คือโปะปูนลงไปปาดเป็นสันสามเหลี่ยมก่อน แต่ด้านที่จะต่อกันของอิฐบล็อกให้ป้ายปูนเข้าไปที่ด้านข้างที่จะต่อกันด้วย ซึ่งมันจะเป็นร่องเว้าอยู่เนื้อปูนก็จะเชื่อมประสานอิฐบล็อกก้อนใหม่ให้เข้ากับก้อนเดิมจากนั้นก็ปาดปูนส่วนเกินตกแต่งให้เรียบร้อย
5.การก่อชั้นบน ก็ทำคล้ายกัน คือโปะปูนลงไปก่อนแล้วปาดเป็นสามเหลี่ยมแต่ส่วนที่เราจะวางลงไปคือ ให้กึ่งกลางก้อนอิฐบล็อกอยู่ตรงรอยต่อโดยก่ออิฐบล็อกสับหว่างกัน เพื่อให้เกิดความแข็งแรง
6.พอเสร็จขั้นตอนการก่ออิฐบล็อกตามที่ต้องการแล้วให้กลับมาบ่มน้ำหลังจากปูนแข็งตัวแล้วอย่างน้อย 3 วันโดยรดน้ำบนผนังที่ก่ออิฐให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 1 ครั้งทำต่อเนื่องจนครบ 1 สัปดาห์ ขั้นตอนนี้สำคัญมากครับเพราะความแข็งแรงของงานปูนจะขึ้นอยู่กับการทำให้เนื้อปูนไม่สูญเสียน้ำเร็วจนเกินไป ช่วยลดปัญหาแตกร้าวได้โดยตรงเพียงเท่านี้ แม้จะเป็นมือใหม่ก็สามารถทำตามได้ง่ายๆเลย
หมายเหตุ
- ในการทำชิ้นงานจำนวนมากควรใช้โม่ผสมปูน
- ควรวางชิ้นงานไว้ในที่ร่มจนกว่าจะแห้งสนิท เพื่อความแข็งแรงคงทน
- ควรทำความสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้งก่อนนำไปเก็บรักษา
การทดสอบแรงอัดคอนกรีตบล็อก
การทดสอบแรงอัดคอนกรีตบล็อก หรือ อิฐบล็อก ( Compressive strength Test block )
ตามมาตรฐาน อิฐบล็อก มอก.57 และ มอก.58 กำหนดค่าการรับแรงอัดต่างกัน เนื่องจาก มอก.57 สำหรับคอนกรีตบล็อก
รับน้ำหนัก ต่างจาก มอก.58 สำหรับคอนกรีตบล็อก ไม่รับน้ำหนัก
โดย มอก 57 กำหนดค่าการรับแรงอัดอิฐบล็อก ไม่น้อยกว่า 140 กิโลกรัม ต่อ ตรม.ซม ( ksc.)
และ มอก.58 กำหนดค่าการรับแรงอัดอิฐบล็อก ไม่น้อยกว่า 25 กิโลกรัม ต่อ ตรม.ซม. ( ksc.)
พื้นที่คอนกรีตบล็อก คำนวณจากพื้นที่สุทธิ ที่หักจาก รูโพรง ของคอนกรีตบล็อกออกไป
ทำความรู้จักกับ อิฐบล็อก
อิฐบล็อก เป็นอิฐที่ทำจากส่วนผสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ กับ ทราย เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง เนื่องจากมีราคาถูกและก่อสร้างได้สะดวก รวดเร็ว
อิฐบล็อก เป็นอิฐที่ทำจากส่วนผสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ กับ ทราย เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง เนื่องจากมีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่นๆ จึงเหมาะกับการก่อสร้าง อาคาร โกดัง โรงงาน ที่ต้องการประหยัดงบประมาณและต้องการให้งานเสร็จไว เพราะ อิฐบล็อก มีขนาดใหญ่ จึงก่อสร้างได้สะดวก รวดเร็ว จบงานได้ไว
ส่วนใหญ่ อิฐบล็อก จะมีสีเทา มีรูกลวงตรงกลาง ซึ่งเป็นข้อดีของ อิฐบล็อก เพราะช่วยถ่ายเทความร้อนได้ดี ส่วนข้อเสียของ อิฐบล็อก คือ ไม่ค่อยแข็งแรง รับแรงกดได้น้อยกว่าอิฐชนิดอื่นๆ รวมถึงรับน้ำหนักแขวนมากๆ ไม่ได้ จึงไม่เหมาะกับการเจาะผนังเพื่อยึดติดอุปกรณ์ต่างๆ เปราะง่าย ไม่เหมาะกับงานเดินท่อไฟ ท่อประปาในผนัง ต้องเดินภายนอก มีโอกาสรั่วซึมได้สูงหากไม่มีการฉาบปูนที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นแล้ว ด้านการใช้งานสำหรับ อิฐบล็อก นั้น เหมาะกับการก่อผนังอาคารทั่วไป ซะมากกว่า
การใช้งาน อิฐบล็อก แต่ละประเภท
1. อิฐบล็อก 7 ซม. ธรรมดา
อิฐบล็อก 7 ซม. ธรรมดา เห็นกันได้บ่อยๆ ตามร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไป ซึ่งจริงๆ มีความหนา 6.5 ซม. ไม่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม ผนังเปลือกบล็อกมีความบาง น้ำหนักเบา เพื่อลดต้นทุนให้มากที่สุด สามารถใช้ได้กับงานผนังทั่วไปที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก
2. อิฐบล็อก 7 ซม มอก.
อิฐบล็อก 7 ซม มอก. หรือ คอนกรีตบล็อก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ มอก.57 และ มอก.58 บล็อกหนา แข็งแรง แข็งแกร่งมาก รับน้ำหนักได้ดี ได้มาตรฐานกว่าอิฐบล็อกทั่วไป ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3. อิฐบล็อก 9 ซม.
อิฐบล็อก 9 ซม. เหมาะสำหรับผนังโรงงาน โกดังขนาดเล็ก อาคารสินค้า หรือ รั้วกำแพง ที่ต้องการความแข็งแรงสูง
4. อิฐบล็อก 14 ซม.
อิฐบล็อก 14 ซม. เหมาะสำหรับผนังโรงงาน อาคารที่ต้องการความแข็งแรงสูง ป้องกันผนังจากการกระทบกับเครื่องจักร เช่น ผนังโรงสีข้าว ผนังอาคารเก็บสินค้าขนาดใหญ่ ผนังอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ
5. อิฐบล็อก 19 ซม.
อิฐบล็อก 19 ซม. เป็น อิฐบล็อก ขนาดมาตรฐานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เหมาะสำหรับผนังที่ต้องการความแข็งแรงสูงสุด ใช้ในผนังบ้าน หรือ ผนังอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ใช่เสา เช่น ผนังอาคารรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีส้มและม่วงในปัจจุบัน
6. อิฐ Fast Brick
อิฐ Fast Brick เป็นอิฐตัน ที่ใช้ทดแทน อิฐมอญ คุณภาพสูงกว่า แต่ราคาถูกกว่าอิฐมอญ ผลิตจากคอนกรีตคุณภาพสูง ทึบทั้งก้อน บ่มด้วยห้องบ่มอุณหภูมิสูง ผนังที่ได้จึงมีคุณภาพที่สูงกว่า อิฐมอญ ใช้กับผนังภายในบ้าน อาคาร คอนโดมิเนียม
การเลือกใช้ อิฐบล็อก ให้เหมาะสมกับประเภทงาน ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หากจะทำการก่อสร้างใดๆ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อน หากต้องการเลือกใช้ อิฐบล็อก เมื่อไหร่อย่าลืมเลือก อิฐบล็อกวงกลม กันนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก tvpoolonline
คอนกรีตบล็อก มีรู จำเป็นต้องกรอกปูนหรือไม่ ?
คอนกรีตบล็อก หรือ อิฐบล็อก ที่มี รูตรงกลาง 2 ช่อง จำเป็นต้องกรอกปูนในรู ให้เต็มหรือไม่ ?
วงกลมบล็อก มีคำตอบให้นะครับ คอนกรีตบล็อก หรือ เรียกกันว่า HOLLOW BLOCK โดย อิฐบล็อก
จะมีช่องว่างรูตรงกลาง 2 รู เพื่อ ลดน้ำหนักคอนกรีตบล็อก และ เป็นช่องว่างอากาศ เพื่อกันความร้อน และกันเสียงได้ดี
โดยลักษณะการใช้สำหรับกำแพงโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกรอกปูนลงในรู นะครับ
แต่ สำหรับงานก่อสร้างผนังคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก (Load bearing wall ) ทีมีการออกแบบเสร็มเหล็กในผนังอิฐบล็อก รูของอิฐบล็อกจะถูกเสียบด้วยเหล็ก จำเป็นต้องกรอกปูนในรูที่มีเหล็กนะครับ